ผู้ปกครองต้องรู้! วิธีแก้เศษอาหารติดคอ สำหรับลูกน้อยวัยทารก

 เมื่อลูกน้อยวัยทารกต้องเปลี่ยนอาหารเหลวมาเป็นแบบต้องเคี้ยวก็มักจะเกิดปัญหาเศษอาหารติดคอ ผู้ปกครองจึงควรรู้วิธีแก้ปัญหาเศษอาหารติดคอไว้

 

 

ผู้ปกครองต้องรู้! วิธีแก้เศษอาหารติดคอ สำหรับลูกน้อยวัยทารก

 

หลังจากผ่านช่วงลูกน้อยวัยทารกทานได้เพียงนมและอาหารเหลวในที่สุดก็ถึงเวลาจะได้เปลี่ยนมาเป็นอาหารแบบเคี้ยวกันบ้างแม้จะเป็นเรื่องน่าดีใจที่ลูกน้อยได้เติบโตขึ้นอีกเก้า แต่ก็สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ได้ไม่มากก็น้อยเพราะมักจะมีปัญหาเรื่องเศษอาหารติดคอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายไม่คาดฝันบทความนี้เลยขอชวนผู้ปกครองทุกท่านมาดูวิธีเศษแก้วเศษอาหารติดคอ เพื่อเตรียมตัวรับมือได้ทันท่วงที

 

เช็คยังไงให้รู้ว่า ‘เศษอาหารกำลังติดคอลูกน้อย’

ก่อนจะไปดูเรื่องวิธีแก้เศษอาหารติดคอ มาดูกันก่อนดีกว่าว่า จะเช็คอาการยังไงให้รู้ทันเศษอาหารที่ลูกน้อยวัยทารกได้ทานเข้าไปกำลังติดคออยู่

  • เกิดอาการสำลักหรือไอหนักมากกว่าปกติ
  • หายใจไม่ออกหรือหอบหนักรุนแรง
  • พยายามร้องเรียกหรือพูดแบบไม่มีเสียง
  • หน้าตาซีดเซียวมือกุมลำคอ

หากพบสัญญาณเตือนเหล่านี้ให้รีบประเมินอาการดูก่อนว่า จะปฐมพยาบาลโดยวิธีแก้เศษอาหารติดคอทารกด้วยตัวเอง หรือรีบพาส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด ดูง่าย ๆ ถ้าเห็นว่าเด็กทารกเริ่มหายใจไม่ออก มือจับลำคอ ใบหน้าซีดเซียวคล้ายกับกำลังจะหมดสติหรือเริ่มหมดสติแล้วแสดงว่า อยู่ในระดับอาการหนักต้องรีบพาส่งโรงพยาบาลทันที

 

วิธีแก้เศษอาหารติดคอเด็กทารก

สำหรับผู้ปกครองที่ประเมินอาการแล้วว่าสามารถปฐมพยาบาลด้วยตัวเองหรืออยู่ในระหว่างนำส่งตัวเด็กน้อยให้ถึงมือแพทย์อาจใช้วิธีแก้เศษอาหารติดขอเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • พลิกตัวให้เด็กนอนคว่ำ

วิธีแก้เศษอาหารติดคอเด็กทารกข้อแรกควรจับตัวเด็กให้นอนคว่ำบนแขนหรือขาของผู้ปกครอง เพื่อให้เศษอาหารหลุดออกทางปากได้ง่ายขึ้นไม่ไหลลงคอหรือไปติดหลอดลมจนยากต่อการช่วย จากนั้นพยายามเอนให้ศีรษะต่ำกว่าตัวเล็กน้อย แต่ไม่ถึงขั้นต้องจับเด็กห้อยหัว

  • ตบบริเวณทรวงอกด้านหลังช่วงสะบัก

หลังจากอยู่ในท่าเตรียมวิธีแก้แซ็งเศษอาหารติดของเรียบร้อยแล้วให้ใช้มือฝั่งหนึ่งจับประคองตัวเด็ก ส่วนมืออีกฝั่งตบบริเวณทรวงอกด้านหลังช่วงสะบักครั้งละประมาณห้าทีก่อนจะดูว่า อาการของเด็กทารกดีขึ้นหรือไม่ สามารถตบแรงแรงได้เลยไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะเจ็บ เพราะไม่งั้นเศษอาหารอาจไม่หลุดออกจากคอของเด็ก

  • สลับกับนอนหงายกดหน้าอก

กำลังจะตบบริเวณทรวงอกด้านหลังช่วงสะบักแล้ว ให้จับเด็กทารกนอนหงายโดยมือฝั่งหนึ่งประคองศรีษะบริเวณท้ายทอยและมืออีกฝั่งนึงใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งกดบริเวณกลางอกลงน้ำหนัก ไม่ต้องเบาหรือแรงเกินไป ประมาณห้าครั้งทำสลับกันจนกว่าเด็กจะเริ่มมีอาการปกติ

  • ถ้าทำแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นต้องรีบส่งถึงมือแพทย์ทันที

หากลูกน้อยวัยทารกเริ่มมีอาการไม่ดีหายใจไม่ออกใบหน้าเขียวซีดหรือหมดสติอาจต้องใช้วิธีแก้เศษอาหารติดคอ ด้วยการสร้างแรงดันในช่องท้องให้เศษอาหารหลุดออกมา โดยเริ่มจากใช้แขนสอดข้างลำตัวกอดกำมือวางไว้ตรงใต้ลิ้นปี่แล้วให้เด็กโน้มไปด้านหน้าจากนั้นดันลงรวดเร็วให้เกิดแรงดันในช่องท้อง และรีบส่งเด็กทารกถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะถ้าช้าเกินไปอาจเกิดภาวะเจ้าหญิงนิทราหรือเสียชีวิตได้เลย

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาหารติดคอทารก

เชื่อว่า แม้ผู้ปกครองหลายท่านจะรู้วิธีแก้เศษอาหารติดคอแล้ว แต่หากไม่เคยฝึกหรือเจอสถานการณ์จริงมาก่อนก็อาจขาดสติหรือทำได้ไม่ถูกวิธีเพราะงั้นมาดูวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอาหารติดคอทารกกันดีกว่า

  • เลี่ยงอาหารที่ทำให้เด็กทารกเสี่ยงติดคอง่าย

ประเภทอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ เพราะมีส่วนสำคัญเกี่ยวกับความเสี่ยงติดคอเด็กทารกได้ง่ายหรือไม่ เลยขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารประเภทเหล่านี้

– ขนม เช่น บิสกิต, เยลลี่, ลูกอม ฯลฯ

– ผลไม้ชิ้นเล็กและเคี้ยวยาก เช่น ถั่ว ข้าวโพด องุ่น(มีเม็ดขนาดเล็กภายใน) ฯลฯ

– อาหารเป็นเส้น เช่น ก๋วยเตี๋ยว, วุ้นเส้น ฯลฯ

– เนื้อสัตว์ติดกระดูก จำเป็นต้องเอากระดูกหรือก้างออกก่อน

  • ฝึกให้เด็กเคี้ยวอาหารอย่างถูกวิธี

อีกวิธีป้องกันสำคัญก็คือ ควรฝึกเด็กทารกให้เคี้ยวอาหารอย่างถูกวิธีไม่ต้องรีบร้อน พยายามเคี้ยวให้เป็นเศษเล็ก ๆ ก่อนกลืนและไม่พูดคุยหรือทำกิจกรรมอื่นขณะกำลังทานอาหาร

 

แม้เวลาอาหารติดคอเด็กทารกจะมีวิธีแก้เศษอาหารติดคอให้พอจะปฐมพยาบาลด้วยตัวเองได้ แต่บางเคสก็จำเป็นต้องให้แพทย์ทำการช่วยเหลือ เพราะงั้นอย่าลืมทำประกันสุขภาพไว้คุ้มครองคุณและคนที่คุณรักเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน กับ ประกันสุขภาพที่ใช่ ตามไลฟ์สไตล์ที่ชอบจากแรบบิท แคร์ พร้อมดูแลคุณทุกย่างก้าว!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *